หัวข้อ   “ ประชาชนคิดอย่างไรกับโผ ครม. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ประชาชน 80.5% เห็นว่า พล.อ. ประยุทธ์ จะสามารถเป็นนายกฯ ที่ประชาชนพึ่งพาได้
64.6% ชี้โผ ครม. มีความเหมาะสม โดย 72.0% เห็นว่า ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เหมาะสมจะเป็น รมว.คลัง
79.5% เชื่อมั่นว่า ครม. ตามโผจะสามารถทำเศรษฐกิจให้เติบโตได้ และ
80.4% เชื่อมั่นว่าจะทำให้ความขัดแย้งลดลง
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็น
ประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรกับโผ ครม.
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” พบว่า ประชาชนร้อยละ 80.5 เห็นว่า พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะสามารถเป็นนายกรัฐมนตรีที่ประชาชนสามารถพึ่งพาได้
หากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี

มีเพียงร้อยละ 4.5 เท่านั้นที่เห็นว่าพึ่งพาไม่ได้ และร้อยละ 15.0 ไม่แน่ใจ
 
                  สำหรับความเห็นต่อโผคณะรัฐมนตรีว่ามีความเหมาะสมกับตำแหน่ง
หรือไม่ ในภาพรวมประชาชนร้อยละ 64.6 เห็นว่ามีความเหมาะสม
มีเพียงร้อยละ
8.5 ที่เห็นว่าไม่เหมาะสม และร้อยละ 26.9 ไม่แน่ใจ โดยความเหมาะสมในแต่ละตำแหน่ง
มีดังนี้
 
 
 
                 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 81.4 เห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี
                 ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ร้อยละ 72.0 เห็นว่ามีความเหมาะสมจะเป็น รมว.กระทรวงการคลัง
                 พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ร้อยละ 70.1 เห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะเป็นรองนายกฯ และ รมว.กระทรวงกลาโหม
                 ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ ร้อยละ 69.9 เห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะเป็น รมว.กระทรวงพาณิชย์
                 พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ร้อยละ 55.7 เห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะเป็น รองนายกฯ และ รมว.กระทรวงคมนาคม
                 พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ร้อยละ 53.2 เห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะเป็น รมว.กระทรวงมหาดไทย
                 พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ร้อยละ 50.0 เห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะเป็น รมว.กระทรวงพลังงาน
 
                 นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อคณะรัฐมนตรีตามโผข้างต้นว่าจะนำพาเศรษฐกิจของประเทศ
ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งได้หรือไม่ ประชาชนร้อยละ 79.5 เชื่อมั่นว่าจะทำได้
ขณะที่ร้อยละ 20.5 ไม่เชื่อมั่นว่า
จะทำได้
 
                  สำหรับความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีตามโผข้างต้นว่าจะสามารถนำพาประเทศก้าวผ่านความขัดแย้ง
ได้มากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะหลังมีการเลือกตั้งในปีหน้า ประชาชนมากถึงร้อยละ 80.4 เชื่อว่าความขัดแย้ง
จะลดลง
ขณะที่ร้อยละ 17.5 เชื่อว่าความขัดแย้งจะมีเหมือนเดิม มีเพียงร้อยละ 2.1 ที่เชื่อว่าความขัดแย้งจะเพิ่มขึ้น
 
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะสามารถเป็นนายกรัฐมนตรีที่ประชาชน
                 พึ่งพาได้ ใช่หรือไม่ หากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี”


 
ร้อยละ
พึ่งพาได้
80.5
พึ่งพาไม่ได้
4.5
ไม่แน่ใจ
15.0
 
 
             2. ความเห็นต่อโผคณะรัฐมนตรี ตามรายชื่อต่อไปนี้มีความเหมาะสมกับตำแหน่งหรือไม่

รัฐมนตรี
เหมาะสม (ร้อยละ)
ไม่เหมาะสม
( ร้อยละ)
ไม่แน่ใจ
( ร้อยละ)
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็น นายกรัฐมนตรี
81.4
9.0
9.6
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล จะเป็น รมว.กระทรวงคลัง
72.0
7.5
20.5
พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา จะเป็น รองนายกฯ และ
รมว.กระทรวงกลาโหม
70.1
9.8
20.1
ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ จะเป็น รมว.กระทรวงพาณิชย์
69.9
5.6
24.5
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง จะเป็น รองนายกฯ และ รมว.กระทรวงคมนาคม
55.7
9.4
34.9
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ จะเป็น รมว.กระทรวง
มหาดไทย
53.2
9.4
37.4
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ จะเป็น รมว.กระทรวง
พลังงาน
50.0
8.6
41.4
เฉลี่ยรวม
64.6
8.5
26.9
                    หมายเหตุ : รวบรวมโดยกรุงเทพโพลล์
 
 
             3. ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อคณะรัฐมนตรี ตามโผข้างต้นว่าจะนำพาเศรษฐกิจของประเทศ
                ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งได้

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นว่าจะทำได้
79.5
ไม่เชื่อมั่นว่าจะทำได้
20.5
 
 
             4. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “คณะรัฐมนตรีตามโผข้างต้น จะสามารถนำพาประเทศก้าวผ่าน
                 ความขัดแย้งไปได้มากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะหลังมีการเลือกตั้งในปีหน้า”

 
ร้อยละ
เชื่อว่าความขัดแย้งจะเพิ่มขึ้น
2.1
เชื่อว่าความขัดแย้งจะมีเหมือนเดิม
17.5
เชื่อว่าความขัดแย้งจะลดลง
80.4
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโผคณะรัฐมนตรีของ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วง
น้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 1 สิงหาคม 2557
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 2 สิงหาคม 2557
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
422
50.1
             หญิง
420
49.9
รวม
842
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
170
20.2
             31 – 40 ปี
190
22.6
             41 – 50 ปี
203
24.0
             51 – 60 ปี
179
21.3
             61 ปี ขึ้นไป
100
11.9
รวม
842
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
603
71.7
             ปริญญาตรี
189
22.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
50
5.9
รวม
842
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
99
11.8
             ลูกจ้างเอกชน
192
22.8
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
358
42.5
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
31
3.7
             ทำงานให้ครอบครัว
6
0.7
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
113
13.4
             นักเรียน/ นักศึกษา
29
3.4
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
14
1.7
รวม
842
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776